วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

Nintendo Wii






เครื่องเล่นวี เริ่มถูกคิดค้นในปี พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นเวลาที่ เครื่องเล่นเกมคิวบ์เปิดตัว จากการสัมภาษณ์ของ นายชิเงรุ มิยาโมโตะ เกี่ยวกับแนวคิดในการมุ่งเน้น ไปที่วิธีใหม่ๆ สำหรับการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เล่น "เป็นที่ยอมรับกันว่า พลังประมวลผลของเครื่องเล่นเกม ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง ของเครื่องเล่นเกม เราไม่สามารถมีเครื่องทรงพลังหลายๆเครื่อง แข่งขันกันเอง มันก็เหมือนกับมีแต่ ไดโนเสาร์ดุร้าย ที่ต่อสู้กันเอง จนสูญพันธุ์ไปหมด" 
สองปีต่อมา โปรแกรมเมอร์เกมเอนจิน (game engine) และ เกมดีไซเนอร์ (game designer) ได้ร่วมกัน พัฒนาแนวคิดนี้ ก่อน พ.ศ. 2548 ก็มีการพัฒนา ที่บังคับเป็นผลสำเร็จ แต่งานเปิดตัวในปีนั้น ได้ถูกยกเลิกไป นายมิยาโมโต้กล่าวว่า "เรายังมีปัญหาที่ต้องแก้ไข เราจึงตัดสินใจ ไม่เปิดเผยที่บังคับ แต่เราจะแสดงแค่ตัวเครื่องเท่านั้น"[1] ต่อมาประธานบริษัทนินเทนโด นายซาโตรุ อิวาตะ (Satoru Iwata) จึงได้แสดงวีโมต ในเดือนกันยายน ที่ โตเกียวเกมโชว์ (Tokyo Game Show) [2]

เครื่องเล่นนินเทนโด DS ได้ถูกกล่าวว่า เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ของการออกแบบเครื่องเล่นวี ดีไซเนอร์ เคนอิจิโร อาชิดะ ย้ำว่า "เรามีเครื่องเล่นนินเทนโด DS ในใจเวลาเราออกแบบเครื่องเล่นวี เราคิดจะใช้จอสัมผัส แบบเดียวกัน และยังสร้างเครื่องต้นแบบออกมาด้วย" ในที่สุดความคิดนี้ก็ถูกปฏิเสธ เนื่องจากมันจะทำให้ เครื่องเกมทั้งสองเหมือนกันเกินไป นายมิยาโมโต้กล่าวไว้ด้วยว่า "ถ้าเครื่อง DS ไม่ประสบความสำเร็จ เราคงจะไม่ผลิตเครื่องเล่นวีออกมา" [1]

ชื่อ 

เครื่องเล่นวี รู้จักในชื่อโค้ดเนมว่า "รีโวลูชัน" (Revolution) จนกระทั่งถึงวันที่ 27 เมษายน 2549 ก่อนงานประชุมเกม E3 [3] บริษัทนินเทนโดระบุว่าชื่อของเครื่องคือ "วี" ไม่ใช่ "นินเทนโดวี" เครื่องเล่นวี เป็นเครื่องเล่นเกมเครื่องแรก ของนินเทนโดที่ทำตลาด นอกประเทศญี่ปุ่น โดยไม่มีชื่อบริษัท เป็นเครื่องหมายการค้า นินเทนโดสะกด "Wii" ด้วยตัว "i" ตัวเล็กทั้งสองตัว โดยต้องการให้คล้ายกับ คนสองคนยืนอยู่ข้างๆกัน แสดงถึงผู้เล่นที่มารวมกัน และอาจแสดงถึง ที่บังคับของเครื่องได้อีกด้วย [4] บริษัทได้ให้เหตุผลหลายอย่าง ในงานประกาศชื่อวี แต่ที่เป็นที่รู้จักดีที่สุดก็คือ: วีฟังดูเหมือนกับ 'we' (พวกเรา) ซึ่งเน้นว่า เป็นเครื่องเล่นเกมสำหรับทุกคน วีเป็นชื่อที่จดจำได้ง่าย สำหรับคนทั่วโลก ไม่ว่าเขาจะพูดภาษาอะไรก็ตาม ไม่มีความสับสน ไม่ต้องมีตัวย่อ แค่วี[4]

แม้ว่านินเทนโดจะได้อธิบายถึงที่มาของชื่อไปแล้ว นักพัฒนาเกมบางคน และนักข่าวก็ยังกล่าวถึง การเปลี่ยนชื่อในแง่ลบ พวกเขาชอบชื่อ "รีโวลูชัน" มากกว่าชื่อ "วี" [5] และกลัวว่า ชื่อวีจะแสดงถึง ความไม่เอาจริงเอาจัง ของเครื่องเล่นเกม [6] สำนักข่าว บีบีซี รายงานหลังจาก วันประกาศชื่อเครื่องว่า มีการล้อเลียนชื่อปรากฏอยู่ ทั่วอินเทอร์เน็ต [7] ประธานบริษัทนินเทนโดในอเมริกา เรกจี้ ฟิลส์ เอเม่ ยอมรับถึงผลตอบสนอง ในช่วงแรก ทั้งยังอธิบายการเปลี่ยนแปลงอีกว่า:


ชื่อ รีโวลูชัน ไม่ได้เป็นชื่อที่เหมาะสมที่สุด มันเป็นชื่อที่ยาว และในบางสังคม มันยังอ่านได้ยากอีกด้วย เราจึงต้องการชื่อที่สั้น ตรงประเด็น ง่ายต่อการออกเสียง และไม่ซ้ำใคร นั่นเป็นแนวคิดในการสร้างชื่อ วี ขึ้นมา [8]

นินเทนโดปกป้องการเลือกชื่อ วี แทนที่ รีโวลูชัน และตอบโต้นักวิจารณ์ทั้งหลายว่า "มีชีวิตอยู่กับมัน หลับไปกับมัน กินกับมัน เดินหน้าไปกับมัน" [9]

งานเปิดตัว

กล่องเครื่องเล่นวีในร้านขายปลีกในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2549 นินเทนโดได้ประกาศข้อมูลการจำหน่ายของที่ ญี่ปุ่น, อเมริกาเหนือ และ ใต้, ออสเตรเลเชีย (โอเชียเนีย) , เอเชีย และ ยุโรป รวมไปถึง วันที่ขาย, ราคา และจำนวนเครื่อง ก่อนหน้านั้น นินเทนโดได้เปิดเผยว่า มีการวางแผนที่จะผลิต เครื่องเล่นเกม 6 ล้านเครื่อง และเกม 17 ล้านเกม ในช่วงปีงบประมาณ ซึ่งปิดยอดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2550[10] และยังบอกอีกว่า คาดว่าจะสามารถผลิต เครื่องเล่นเกมได้มากกว่า 4 ล้านเครื่องก่อนสิ้นปี 2549 [11] มีการประกาศว่า เครื่องเล่นเกมส่วนใหญ่จะถูกส่งไปที่อเมริกา [12] และเกมทั้งหมด 33 เกมจะเปิดขายก่อนสิ้นปี 2549 [13] ตามรายงาน ประเทศอังกฤษได้ประสบปัญหา ขาดแคลนเครื่องเล่นเกม โดยร้านค้าต่างๆและร้านออนไลน์ ไม่สามารถจำหน่าย ให้ลูกค้าที่สั่งจองล่วงหน้า ได้ครบจำนวนในวันเปิดตัว 8 ธันวาคม พ.ศ. 2549 [14] ในเดือนมีนาคม 2550 ร้านค้าบางร้านในอังกฤษ ยังคงประสบปัญหาขาดแคลนเครื่องเล่นเกม [15] ในเดือน มิถุนายน 2550 ความต้องการซื้อเครื่องเล่นเกม ยังคงมากกว่าจำนวนเครื่องที่ได้รับในประเทศอเมริกา

นินเทนโดประกาศว่า จะมีการเปิดตัวเครื่องเล่นเกมใน เกาหลีใต้ ในวันที่ 26 เมษายน 2551 และจีนภายในปี 2551
ตัวเครื่อง

เครื่องเล่นวี (บนสุด) เปรียบเทียบขนาดกับ เกมคิวบ์, นินเทนโด 64, ซูเปอร์นินเทนโด, และ แฟมิคอมเครื่องเล่นวี เป็นเครื่องเล่นเกมที่มีขนาดเล็กที่สุด ของนินเทนโด ตัวเครื่องมีขนาดกว้าง 44 มม (1.73 นิ้ว) , สูง 157 มม (6.18 นิ้ว) , หนา 215.4 มม (8.48 นิ้ว) ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับกล่องดีวีดี 3 กล่องรวมกัน ขาตั้งที่มากับเครื่อง มีขนาดกว้าง 55.4 มม (2.18 นิ้ว) , สูง 44 มม (1.73 นิ้ว) และ หนา 225.6 มม (8.88 นิ้ว) รวมทั้งหมดหนัก 1.2 กก (2.7 ปอนด์) [20] นับเป็นเครื่องเล่นเกม ที่มีน้ำหนักเบาที่สุดของ เครื่องเล่นเกมรุ่นที่ 7 ตัวเครื่องสามารถวางได้ ทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง รหัสของชิ้นส่วนประกอบ และ อุปกรณ์เพิ่มเติม ขึ้นต้นด้วย "RVL" มาจากโค้ดเนม "รีโวลูชัน" (Revolution)
ด้านหน้าของตัวเครื่องประกอบด้วย ช่องใส่แผ่นดิสก์เรืองแสง ซึ่งสามารถใส่แผ่นดิสก์วี ขนาด 12 ซม หรือ แผ่นดิสก์เกมคิวบ์ แสงสีฟ้าในช่องใส่แผ่นดิสก์จะเรืองแสง เป็นเวลาสั้นๆเมื่อเปิดเครื่อง และวูบวาบเมื่อมีข้อมูลเข้ามาจาก WiiConnect24. หลังจากเฟิร์มแวร์อัปเดต เวอร์ชัน 3.0 ช่องใส่แผ่นดิสก์จะมีแสงทุกครั้ง เมื่อใส่หรือถอดแผ่นดิสก์ เวลาไม่มีข้อมูลเข้า หรือเวลาเล่นเกม จะไม่มีแสงที่ช่องใส่แผ่นดิสก์ ยูเอสบี พอร์ท 2 อันอยู่ด้านหลังของตัวเครื่อง ช่องใส่ เอสดีการ์ด ถูกซ่อนอยู่ด้านหลังฝาปิด ด้านหน้าของตัวเครื่อง แผ่นเอสดีการ์ด สามารถใช้สำหรับอัปโหลด รูปภาพ หรือใช้เก็บสำรอง เซฟเกม และ เกมเวอร์ชัวคอนโซล เนื่องจากระบบการจัดการสิทธิทางดิจิตอล ข้อมูลของเวอร์ชัวคอนโซล จะนำไปใช้กับเครื่องอื่นไม่ได้ ใช้ได้เฉพาะเครื่องที่ ดาวน์โหลดมาเท่านั้น [22] ในการใช้ช่องใส่เอสดีการ์ด สำหรับเซฟเกม ต้องมีการอัปเดตซอฟต์แวร์ก่อนด้วยการดาวน์โหลดแพทช์ ดังนั้นเครื่องที่ไม่ได้ต่อกับอินเทอร์เน็ต ก็จะไม่สามารถเซฟเกมไว้ใน เอสดีการ์ดได้ เอสดีการ์ดสามารถใช้สร้างเพลงภายในเกม จากไฟล์เอ็มพี3 อย่างเช่นในเกม Excite Truck และยังสร้างเพลงสำหรับสไลด์โชว์ ในโฟโต้แชนแนลได้อีกด้วย นินเทนโดได้แสดงตัวเครื่อง และวีรีโมท ในสีขาว, ดำ, เงิน, เขียวมะนาว, และแดง [23][24] แต่ที่มีขายขณะนี้มีแค่สีขาว นายชิเงรุ มิยาโมโตะ ย้ำว่าสีอื่นๆจะมีขายเมื่อ ไม่มีปัญหาผลิตไม่ทันแล้ว [25]

ชุดเปิดตัวเครื่องเล่นวี ประกอบด้วย ตัวเครื่อง ขาตั้งสำหรับตั้งตัวเครื่องในแนวตั้ง, วีโมต 1 อัน, วีเซนเซอร์บาร์ 1 อัน, ขาตั้งเซนเซอร์บาร์ 1 อัน, พาวเวอร์อแดปเตอร์ 1 อัน, ถ่านไฟฉาย AA 2 ก้อน, สายต่อวีดีโอชนิด composite 1 เส้น, หนังสือคู่มือการใช้งาน, และ (ยกเว้นที่ขายในญี่ปุ่น) เกมวีสปอร์ต 


ผู้ประกาศข่าวของนินเทนโดกล่าวว่า บริษัทมีแผนที่จะเปิดตัวเครื่องเล่นวี ที่สามารถเล่นดีวีดีได้ในปี 2550 [26] แม้ว่าจะใช้แค่ซอฟต์แวร์ เท่านั้นก็สามารถเล่นดีวีดีได้ มัน"ต้องมีมากกว่าแค่เฟิร์มแวร์อัพเกรด" จึงไม่สามารถทำผ่านเครือข่าย WiiConnect24 ได้ [26]

วีโมต

วีรีโมตวีรีโมต (บางครั้งเรียกว่า วีโมต (Wiimote) ซึ่งแปลงมาจากคำว่า รีโมต (remote)) เป็นที่บังคับหลักของเครื่องวีที่ใช้ในเกมหลักๆของเครื่อง และมีอยู่ในชุดการขายพื้นฐาน ประกอบด้วยสองส่วนคือ วีรีโมต มีรูปทรงเหมือนรีโมตโทรทัศน์ โดยมีคุณสมบัติหลักคือมีเซนเซอร์ในการตรวจจับการเคลื่อนไหว และควบคุมการเล่นเกมโดยการเคลื่อนไหวรีโมตนี้ไปในทิศทางต่างๆ และต้องวางตัวตรวจจับความเคลื่อนไหวไว้ด้านบนของโทรทัศน์ที่ใช้เล่น และจอยอนาล็อก หรือที่เรียกในภาษาญี่ปุ่นว่านุนชะคุ (Nunchuk) ใช้เชื่อมต่อกับวีรีโมต ใช้ในการบังคับทิศทางต่างๆ


สเป็กเครื่อง
นินเทนโดได้ประกาศ รายละเอียดเพียงเล็กน้อย เกี่ยวกับระบบของวี แต่ข้อมูลสำคัญๆบางอันได้รั่วไหล มาจากสำนักข่าว แม้ว่ารายงานเหล่านี้ จะไม่ได้รับการยืนยัน อย่างเป็นทางการ มันพอจะบอกได้ว่า ตัวเครื่องเป็นการต่อเติม หรือการพัฒนามาจาก เครื่องเล่นเกมคิวบ์ ยิ่งไปกว่านั้น จากการวิเคราะห์พบว่า เครื่องเล่นวีมีความสามารถ ประมาณ 1.5 ถึง 2 เท่าของเครื่องรุ่นก่อน [27][28]

หน่วยประมวลผล:

ซีพียู: ใช้หน่วยประมวลผลแบบ เพาเวอร์พีซี ชื่อว่า "บรอดเวย์" (Broadway) ทำด้วยขบวนการ SOI CMOS 90 nm
รายงานว่ามีความเร็วที่ 729 MHz [29]

จีพียู: ใช้จีพียูของ ATI ชื่อว่า "ฮอลลีวูด" (Hollywood) ทำด้วยขบวนการ CMOS 90 nm [30] รายงานว่ามีความเร็วที่ 243 MHz [29]
หน่วยความจำ:

หน่วยความจำกลางมีขนาด 88 MiB (แบ่งเป็น ส่วนภายใน 24 MiB 1T-SRAM ซึ่งรวมอยู่กับระบบกราฟิก และ ส่วนภายนอก 64 MiB GDDR3 SDRAM) [31]
texture memory และ framebuffer ทั้งหมด 3 MiB อยู่ในจีพียู
พอร์ท และความสามารถอื่นๆ:

ติดต่อกับ วีรีโมต ได้สูงสุด 4 ตัว (ติดต่อแบบไร้สายโดยใช้ บลูทูธ)
ช่องเสียบที่บังคับของ นินเทนโดเกมคิวบ์ 4 ช่อง (ที่บังคับ 1 อัน สามารถใช้พร้อมกับ วีรีโมตอีก 4 อัน สำหรับเล่นพร้อมกัน 5 คน)
ช่องเสียบเกมคิวบ์ เมโมรีการ์ด 2 ช่อง
ช่องเสียบ เอสดีการ์ด
ช่องเสียบสาย ยูเอสบี 2 ช่อง
ช่องเสียบสายเซ็นเซอร์บาร์
ช่องเสียบเพิ่มเติมที่ใต้ วีรีโมต
สามารถใช้คีย์บอร์ดแบบ ยูเอสบี ในเมสเส็จบอร์ด และ วีชอปแชนแนล (ตั้งแต่ติดตั้ง เฟิร์มแวร์อัปเดตเวอร์ชัน 3.0) [32]
ระบบไร้สายแบบ DWM-W004 WiFi 802.11b/g ของ Mitsumi [33]
สามารถต่อกับระบบ LAN ด้วย สายยูเอสบี
ช่องเสียบสำหรับ สายวีดีโอแบบ component, composite หรือ S-Video
ระบบจัดเรตติ้งเนื้อหา:

BBFC, CERO, ESRB, OFLC, OFLC (NZ), PEGI, USK
ที่เก็บข้อมูล:

แฟลชเมโมรีภายใน แบบ NAND ทั้งหมด 512 MiB
สามารถต่อที่เก็บข้อมูลแบบ เอสดีการ์ด (ได้ถึง 2 GBและจะรองรับ32gbเมื่ออัปเดตเฟริ์มแวร์เป็นเวอร์ชัน4.0)
เมโมรีการ์ด ของนินเทนโดเกมคิวบ์ (ใช้สำหรับเซฟ เกมของเกมคิวบ์)

ซีพียูของวี IBM บรอดเวย์
จีพียูของวี ATI ฮอลลีวูดช่องเสียบแผ่นดิสก์ สำหรับแผ่นดิสก์เกมคิวบ์ ขนาด 8 ซม และแผ่นดิสก์วี ขนาด 12 ซม
Mask ROM โดย Macronix[34]
วีดีโอ:

480p (PAL/NTSC) , 480i (NTSC) หรือ 576i (PAL/SECAM) , สัดส่วนหน้าจอ ขนาดมาตรฐาน 4:3 และ ไวด์สกรีน 16:9 [35]
ช่องเสียบสายวีดีโอ แบบ component, composite, หรือ S-video.[36]
เสียง:

หลัก: สเตอริโอแบบ Dolby Pro Logic II [37]
ที่บังคับ: ลำโพงในตัว

ที่บังคับเพิ่มเติม
ที่บังคับเพิ่มเติม มักใช้เพื่อเพิ่มอรรถรสในการเล่นให้สมจริงยิ่งขึ้น เช่น ที่บังคับในเกมขับรถไฟ พวงมาลัยรถยนต์ หรือที่ลั่นไก (Wii Zapper) ที่ใช้ต่อเข้ากับตอนล่างของวี รีโมต ใช้ในการยิงปืน

วี รีโมตและอนาล็อกสติ๊ก (Nunchuk)
ที่ลั่นไก (Wii Zapper) ที่ต่อกับวี รีโมต
ที่บังคับของ วี รุ่นธรรมดา

ปัญหาด้านเทคนิค
เฟิร์มแวร์อัปเดต อันแรกทาง WiiConnect24 มีผลทำให้ เครื่องบางเครื่องใช้งานไม่ได้ เจ้าของเครื่องต้องส่งเครื่อง กลับไปให้นินเทนโดซ่อม (ถ้าต้องการเก็บเซฟเกมเอาไว้) หรือว่าเปลี่ยนเครื่องใหม่ [38]


ปัญหาลิขสิทธิ์
บริษัท อินเตอร์ลิงก์ อิเล็กทรอนิกส์ (Interlink Electronics) ยื่นฟ้องร้องเรื่องลิขสิทธิ์ต่อนินเทนโด โดยชี้ไปที่การทำงานของ วีรีโมต โดยกล่าวว่าทำให้บริษัท สูญเสียค่าลิขสิทธิ์ ลดยอดขาย และขาดกำไร เนื่องจากการละเมิดลิขสิทธิ์ ของนินเทนโด [39] ห้างหุ้นส่วน อนาสเคป (Anascape Ltd) บริษัทในเท็กซัส ก็ยื่นฟ้องร้องต่อนินเทนโด เรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ [40] บริษัท กรีนเวลลิ่ง (Green Welling LLP) ฟ้องร้องต่อนินเทนโด เรื่องสายรัดข้อมือที่ขาดง่าย [41] บริษัทในเท็กซัสชื่อ โลนสตาร์ อินเวนชัน (Lonestar Inventions) ก็ฟ้องร้องนินเทนโด โดยกล่าวว่าบริษัท ลอกเลียนแบบลิขสิทธิ์ของบริษัท ในการออกแบบตัวเก็บประจุ และใช้ในเครื่องเล่นวี [42]

มีบริษัทจีนชื่อ LetVGO ผลิตเครื่องเล่นเกมส์ที่ใช้จอยรีโมต คล้ายกับ วีโมต มีเกมในตัว 12 เกม และใช้ CPU แบบง่ายๆ ความเร็ว 2.4 GHz โดยใช้ชื่อว่า Vii ซึ่งในขณะนี้มีขายเฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น และยังไม่ถูก Nintendo ฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์[43][44]

ต่อมามีเครื่อง Wii เลียนแบบอีกรุ่นหนึ่ง[45] ซึ่งรุ่นนี้มีการรุกจำหน่ายในญี่ปุ่นด้วย โดยใช้ชื่อว่า Sport Vii โดยมีเกมเก็บอยู่ในตลับเกม รูปร่างคล้ายตลับ เกมบอยแอดวานซ์ 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น